เราจะทำให้ทุกท่านได้ทราบว่า ภาวะโลหิตจางและธาตุเหล็ก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ในบทความนี้เราจะพูดถึงในเรื่องของ ภาวะโลหิตจางและธาตุเหล็ก ว่าทำไมเมื่อพูดถึงภาวะโลหิตจาง แล้วจะต้องพูดถึงเรื่องธาตุเหล็กพ่วงกันไปด้วยทุกที เพราะทั้งสองสิ่งนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร บทความนี้จะทำให้ทุกท่านได้ทราบว่า ภาวะโลหิตจางและธาตุเหล็กมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ก่อนอื่นเราต้องทราบในความหมายของคำว่า ภาวะโลหิตจางและธาตุเหล็ก ว่าในทั้งสองคำนี้มีความหมายว่าอย่างไร และจะนำไปสู่ความเข้าใจในเรื่องของความเกี่ยวข้องกัน

ภาวะโลหิตจาง 

ภาวะโลหิตจาง หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ภาวะซีด มีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อย หรือน้อยจนเกินไป จึงส่งผลกระทบต่อร่างกายในเรื่องของการนำส่งออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ   ในร่างกาย เพราะหน้าที่หลักของเม็ดเลือดแดง คือการนำส่งออกซิเจน ไปเลี้ยงระบบอวัยวะภายในร่างกาย  เมื่อร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อย จึงส่งผลกระทบต่าง ๆ ตามมา เช่น ร่างกายมีความอ่อนเพลียมากกว่าปกติ หรือมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติจากที่เคยเป็น ยกตัวอย่างเช่น โดยปกติการเดินขึ้นบันไดไปทำงานจำนวน 1 ชั้น หรือขึ้นบันไดจำนวน 20 ขั้น ปกติแล้วจะไม่รู้สึกเหนื่อยแต่อย่างใด แต่เมื่อร่างกายของคุณมีจำนวนเม็ดเลือดแดงที่น้อยลง การเดินขึ้น – ลงบันได จำนวน 20 ขั้นในทุก ๆ วัน จะทำให้รู้สึกเหนื่อยหอบขึ้นมาได้

โดยปกติแล้วผู้ที่มีภาวะโลหิตจางในบางคนก็ไม่มีการแสดงอาการ แต่อาจตรวจพบได้จากการไปบริจาคเลือด หรือการตรวจสุขภาพประจำปี 

ธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็ก คือ สารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบบของฮีโมโกลบินที่เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังอยู่ใน           ไมโอโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ในกล้ามเนื้อ โดยหน้าที่หลัก ๆ ของโปรตีนเหล่านี้ ที่มีองค์ประกอบของธาตุเหล็กอยู่ภายในนั้น จะทำหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย 

สาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีต่ำ เมื่อร่างกายขาดวิตามินซีจะส่งผลให้การดูดซึมธาตุเหล็กมีประสิทธิภาพที่น้อยลง ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็ก ควรที่จะรับบประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผลไม้จำพวกส้ม ฝรั่ง หรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
  • เสียเลือดเรื้อรัง จากการคลอดบุตร/ แท้งบุตร หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
  • รับประทานอาหารจำพวกชา กาแฟ หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งสารเหล่านี้จะไปยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กภายในร่างกาย

ติดตามข่าวสุขภาพและติดตามเวลาที่มีคนรอบข้างเขาแสดง พฤติกรรมที่แย่ๆ บางอย่างสื่ออาการทางจิตใจไม่รู้ตัว