หากเคยได้ยินละครหรือนวนิยายเรื่องหนึ่งที่พระเอกนางเอก หรือตัวละครคนใดคนหนึ่งที่รักกันมากๆ ตายจากกันแบบจบไม่ดี ตัวละครตัวนั้นจะ ตรอมใจ ตายตามอีกฝ่ายไปด้วยความรัก มองไปก็เหมือนจะเป็นเรื่องราวน้ำเน่า แต่ใครจะเชื่อว่านี่เป็นเรื่องจริง การตรอมใจทำให้อีกคนถึงตายได้ ถ้าหัวใจเจ็บปวดเกินเยียวยาจริงๆ

สุขภาพกับการ ตรอมใจ ยังมีข้อถกเถียงอยู่มากมายหลายแขนง

บางทีอาจจะไม่มีพยาธิชัดเจน ที่จะมีโอกาสทำให้คนเราสามารถตรอมใจได้ แต่ใช่ว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องแปลก หรือเรื่องไกลตัว ทุกคนมีโอกาสเป็นได้เสมอถ้าวันหนึ่งเราเสียใจอะไรมากๆ ในกลไกทางสุขภาพและทางจิตวิทยา ดังที่สุภาษิตเขาได้กล่าวไว้ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” เนื่องด้วยสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจเป็นเรื่องที่ควบคู่กัน มีความสำคัญไม่น้อยกว่ากัน ถ้าเจ็บปวดจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะส่งผลเสียต่ออีกสิ่งหนึ่งเสมอ แม้แต่ร่างกาย ถ้าสภาพจิตใจย่ำแย่ ร่างกายจะพลอยย่ำแย่ตามจิตใจไปด้วย
ตรอมใจไม่ใช่เรื่องเล็กๆ นะ
- การตรอมใจส่งผลต่อสุขภาพทางจิตใจอย่างมาก กรณีที่มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงกะทันหัน รุนแรงจนใจเกินที่จะรับไหว ชนิดที่ว่าพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือโดยปริยาย เช่น สภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ ปัญหาครอบครัว ตกงาน ถูกคนรักทอดทิ้ง สูญเสียคนที่รักแบบกะทันหัน หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่พลิกกะทันหัน จึงมีโอกาสที่จะเครียด ซึมเศร้า เสี่ยงตรอมใจได้ง่าย ไม่ใช่แค่ความรักอย่างเดียว
- จะมีปัญหาอาการใจลอย เก็บตัวอยู่คนเดียว นอนหลับบ้างไม่หลับบ้าง ไม่คบค้าสมาคมกับใคร ปิดกั้นตัวเองจากภายนอก จมกับความทุกข์ที่มีในใจตัวเองตลอดเวลา กลไกทางสุขภาพร่างกายจากการตรอมใจต่อมา เมื่อกระทบต่อชีวิตประจำวันมากๆ ผู้ได้รับผลกระทบจะทรมานใจตัวเอง เนื่องจากผลของซึมเศร้าที่ต้องการปล่อยตัวไปจนกว่าตัวเองจะตาย เพราะการมีชีวิตอยู่ทำให้ผิดหวังในชีวิต ความเจ็บปวดในจิตใจเหล่านั้นจะค่อย ๆ ปล่อยตัวเองให้เจ็บป่วย ทรมานร่างกายตัวเองจนทรุดโทรม หมายจะให้ตัวเองจบไปกับความตายอย่างช้า ๆ
- ถ้าหากมีการสูญเสียหรือกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง มีโอกาสเกิดภาวะโรคหัวใจชนิดหนึ่ง คือโรคหัวใจชนิด TTC หรืออีกอย่างคือโรคหัวใจสลาย หัวใจจะสูบฉีดเลือดผิดปกติ ซึ่งจะคล้ายๆ กับหัวใจกำเริบในที่คนไทยรู้จักนี่แหล่ะ ซึ่งผู้มีอาการจะเริ่มเจ็บหน้าอก ค่อยๆ รุนแรง หายใจถี่ขึ้น ทำให้การเต้นของหัวใจผิดปกติ ทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
การตรอมใจเป็นปัญหาสุขภาพใกล้ตัวกว่าที่คิด ซึ่งผู้ใกล้ชิดจะต้องสอดส่อง จับตา ดูว่าคนในครอบครัวมีภาวะผิดปกติหรือเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นซึมเศร้าจากการตรอมใจหรือไม่ เพราะสามารถเป็นปัญหาสุขภาพได้ในอนาคต
ติดตามข่าวสุขภาพและติดตามปัญหา เมาโค้ง …ปัญหาสุขภาพที่มักมาพร้อมกับการเดินทาง